วันอาทิตย์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ประโยชน์ของระบบสารสนเทศ




ประโยชน์ของระบบสารสนเทศ
         ประสิทธิภาพ (Efficiency)
        1) ระบบสารสนเทศทำให้การปฏิบัติงานมีความรวดเร็วมากขึ้น โดยใช้กระบวนการประมวลผลข้อมูลซึ่งจะทำให้สามารถเก็บรวบรวม ประมวลผลและปรับปรุง้อมูลให้ทันสมัยได้อย่างรวดเร็ว เช่น คอมพิวเตอร์ที่ใช้ประจำบ้านมีขีดความสามารถในการทำงานถึง 450 ล้านคำต่อนาที (million instructions per second) (Haag et al.,2000:19)        
        2) ระบบสารสนเทศช่วยในการจัดเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ หรือมีปริมาณมากและช่วยทำให้การเข้าถึงข้อมูล (access) เหล่านั้นมีความรวดเร็วด้วย       
        3) ช่วยทำให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว การใช้เครือข่ายทางคอมพิวเตอร์ทำให้มีการติดต่อได้ทั่วโลกภายในเวลาที่รวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยกัน (machine to machine) หรือคนกับคน (human to human) หรือคนกับเครื่องคอมพิวเตอร์ (human to machine) และการติดต่อสื่อสารดังกล่าวจะทำให้ข้อมูลที่เป็นทั้งข้อความ เสียง ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหวสามารถส่งได้ทันที        
         4) ช่วยลดต้นทุน การที่ระบบสารสนเทศช่วยทำให้การปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลซึ่งมีปริมาณมากมีความสลับซับซ้อนให้ดำเนินการได้โดยเร็ว หรือการช่วยให้เกิดการติดต่อสื่อสารได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการประหยัดต้นทุนการดำเนินการอย่างมาก 
        5) ระบบสารสนเทศช่วยทำให้การประสานงานระหว่างฝ่ายต่างๆ เป็นไปได้ด้วยดีโดยเฉพาะหาระบบสารสนเทศนั้นออกแบบเพื่อเอื้ออำนวยให้หน่วยงานทั้งภายในและภายนอกที่อยู่ในระบบของซัพพลายทั้งหมด จะทำให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ และทำให้การประสานงาน หรือการทำความเข้าใจเป็นไปได้ด้วยดียิ่งขึ้น (Turban et al.,2001)

        ประสิทธิผล (Effectiveness)
        1) ระบบสารสนเทศช่วยในการตัดสินใจ ระบบสารสนเทศที่ออกแบบสำหรับผู้บริหาร เช่น ระบบสารสนเทศที่ช่วยในการสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision support systems) หรือระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Executive support systems) จะเอื้ออำนวยให้ผู้บริหารมีข้อมูลในการประกอบการตัดสินใจได้ดีขึ้น อันจะส่งผลให้การดำเนินงานสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ไว้ได้ 
        2) ระบบสารสนเทศช่วยในการเลือกผลิตสินค้า/บริการที่เหมาะสมระบบสารสนเทศจะช่วยทำให้องค์การทราบถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับต้นทุน ราคมในตลาดรูปแบบของสินค้า/บริการที่มีอยู่ หรือช่วยทำให้หน่วยงานสามารถเลือกผลิตสินค้า/บริการที่มีความเหมาะสมกับความเชี่ยวชาญ หรือทรัพยากรที่มีอยู่ 
        3) ระบบสารสนเทศช่วยปรับปรุงคุณภาพของสินค้า / บริการให้ดีขึ้นระบบสารสนเทศทำให้การติดต่อระหว่างหน่วยงานและลูกค้า สามารถทำได้โดยถูกต้องและรวดเร็วขึ้น ดังนั้นจึงช่วยให้หน่วยงานสามารถปรับปรุงคุณภาพของสินค้า/บริการให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้ดีขึ้นและรวดเร็วขึ้นด้วย 
        4) ความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage)ปัจจุบัน ระบบสารสนเทศได้มีการนำมาให้ตลอดทั้งระบบซัพพลายเชน (Supply Chain) เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน 
        5 ) คุณภาพชีวิตการทำงาน (Quality of Working Life) ระบบสารสนเทศจะต้องได้รับการออกแบบออกมาเพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างความต้องการของมนุษย์และประสิทธิภาพของเทคโนโลยีด้วย

ประเภทของระบบสารสนเทศ

ประเภทของระบบสารสนเทศ

            มีงานหลายงานทางธุรกิจที่ต้องการให้เกิดการทำงานที่เป็นอัตโนมัติระบบสารสนเทศจึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นมากขึ้น  ระบบสารสนเทศที่นำมาใช้เพื่อช่วยในการทำงานนั้นมีหลายระบบ บางระบบอาจออกแบบมาเพื่อช่วยให้สามารถรวบรวมข้อมูลได้รวดเร็ว  บางระบบอาจถูกออกแบบมาเพื่อช่วยในวิเคราะห์และตัดสินใจ  ระบบสารสนเทศเหล่านี้สามารถทำงานได้เสร็จภายในระับบย่อยเพียงระบบเดียว หรือสามารถทำงานร่วมกันในหลาย ๆ ระบบสำหรับองค์กรที่มีขนาดใหญ่    ระบบสารสนเทศสามารถแยกตามหน้าที่ที่แตกต่างกันได้ดังนี้ 
            
1. ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automatic System หรือ OAS )
            เป็นงานที่ต้องทำอยู่เป็นประจำ หรืองานทั่วไป ที่สามารถพบได้ในองค์กรทุกประเภท เช่น การส่งจดหมาย การพิมพฺ์เอกสารายงาน หรือ การจัดตารางเวลาซึ่งงานลักษณะนี้ ทำโดยระบบคอมพิวเตอร์อัตโนมัติ  ผู้ใช้สารสนเทศประเภทนี้สามารถนำโปรแกรมประยุกต์ เข้ามาช่วยงานแบบประจำได้ เช่น โปรแกรมประมวลผลคำ (Word Processing ) สมุดบัญชีอิเล็กทรอนิกส์ (Spreadsheet ) และโปรแกรมที่ใช้ติดต่อสื่อสารภายในและภายนอกองค์กร และเพื่อรองรับการขยายระบบใหญ่มากขึ้น ทำให้ระบบสำนักงานอัตโนมัติสามารถสร้างได้ด้วยโปรแกรมประยุกต์ (Application Software ) ที่มีขายตามร้านขายซอฟต์แวร์ระบบสำนักงานอัตโนมัตินี้มักถูกใช้งานโดยบุคคลทุกระดับในองค์กร
 
                                                 
 2. ระบบประมวลผลรายการประจำวัน (Transaction Processing System  หรือ TPS)
            บางครั้งเรียกว่าระบบประมวลผลข้อมูล ( Data Processing System )เป็นระบบที่มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดการข้อมุลพื้นฐาน โดยเน้นที่การประมวลผลรายการประจำวันและการเก็บรักษาข้อมูล การทำงานมัักเกิดขึ้นในหน่วยงานใด หน่วยงานหนึ่ง เท่านั้น เช่น ฝ่ายการเงิน ฝ่ายบัญชี โดยแต่ละฝ่ายจะมีการประมวลผลที่แยกจากกัน ข้อมูลจะถูกป้อนและจัดเก็บอยู่ในระบบ และข้อมูลเหล่านั้นจะถูกแก้ไขระหว่างการประมวลผลรายการประจำวัน จากนั้นผลลัพธืจะถูกแสดงตามระยะเวลาที่กำหนด เช่น ใบสั่งซื้อ สั่งจอง 
 
  3ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ  (Management Information System หรือ MIS )
            เป็นระบบซึ่งรวบรวมข้อมูลและสาารสนเทศทั้งหมดในองค์กร และภายนอกองค์กรอย่างมีหลักเกณฑ์  จุดประสงค์ของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการจะเน้นให้ผู้บริหารมองเห็นแนวโน้มและภาพรวมขององค์กรในปัจจุบัน   รวมทั้งสามารถควบคุมและตรวจสอบผลงานของระดับปฏิบัติการด้วย ขอบเขตของรายการที่ได้จากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการจะขึ้นอยู่กับลักษณะของสารสนเทศ และวัตถุประสงค์ในการใช้งาน โดยอาจมีรายงานตามสภาวการณ์ หรือสภาวการณ์ที่ผิดปกติ ตัวอย่างรายงานที่ได้จากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ เช่น การวิเคราะหืการขายแยกตามพื้นที่ การวิเคราะห์ต้นทุน  งบประมาณประจำปี เป็นต้น 
4. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System หรือ DSS)

           เป็นระบสารสนเทศที่จัดทำขึ้นเพื่ิอให้ผู้ทำการตัดสินใจใช้ประกอบการตัดสินใจ ดังนั้นจึงเป็นระบบที่ง่ายต่อการเรียกใช้งานและการโต้ตอบทั้งนี้เพราะผู้บริหาร ระดับกลางขึ้นไปคุ้นเคยและจำเป็นต้องใช้การตัดสินใจบนประสบการณืต่อสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งที่ควบคุมได้ และทีไม่่สามารถควบคุมได้ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจจึงเป็นระบบที่มีการผสมผสานสารสนเทศที่มีอยู่หรือเรียกใช้จากระบบสารสนเทสอื่น ๆ นำมาเปรียบเทียบ คำนวณ วิเคราะห์ คาดการณ์ โดยนำเสนอในรูปของกราฟิก แผนงานหรือแม้แต่ระบบปัญญาประดิษฐ์  เพื่อให้เกิดความสะดวกในการใช้สารสนเทศ สำหรับผู้ทำการตัดสินใจ นอกเหนือไปจากกงานหรือสถานการณ์ภายในที่ควบคุมได้ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ จะได้รับการออกกแบบเพื่อให้สนับสนุนการตัดสินใจหลาย ๆ ด้าน พร้อมกัน    ดังนั้นสารสนเทศที่เกี่ยวข้องภายในองค์กรจึงได้รับการจัดระบบใหม่เพื่อให้สามารถแสดงความเกี่ยวข้องอย่างชัดเจน สามารถเรียกใช้ได้ทันที
           Description: http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/bangkok/pichai_l/it01/images/nth_userlib_custom_theme_thaigoodview_business_modern_electric_bullet_l.gif ส่วนประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ Description: http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/bangkok/pichai_l/it01/images/nth_userlib_custom_theme_thaigoodview_business_modern_electric_bullet_l.gif

          1. การจัดการข้อมูล  (Data Management )เป็นฐานข้อมูลที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ สถานการณ์ต่าง ๆ และถูกจัดการโดยซอฟต์แวร์ที่เรียกว่า ระบบจัดการ
ฐานข้อมูล (Database Management System หรือ DBMS  )
          2. การจัดการตัวแบบ (Model Management ) เป็นซอฟต์แวร์สำเร็จรูปที่รวมการทำงานหลาย ๆ อย่าง เช่น การทำงานด้านการเงิน สถิติ หรือตัวแบบเชิงปริมาณอื่น ๆ ที่มีความสามารถในการวิเคราะหืข้อมูล และมีซอฟต์ที่ช่วยในการจัดการที่เหมาะสมที่เรียกว่า ระบบจัดการฐานตัวแบบ  (Model Base anagement
System หรือ MBMS )
         3. การจัดการความรู้ (Knowledge Management ) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่สนับสนุนส่วนอื่น ๆ หรือเป็นส่วนประกอบแบบอิสระไม่ขึ้นกับองค์ประกอบอื่น ๆ ช่วยให้ข้อมูลหรือความร้แก่ผู้ทำการตัดสินใจ 
         4. การติดต่อกับผู้ใช้ (User Interface ) ผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารและสั่งงานระบบสนับสนุนการตัดสินใจโดยผ่านส่วนนี้ 


           
5. ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (Executive Informaion Systyem  หรือ EIS )
                 เป็นระบบที่สร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนสารสนเทศและการตัดสินใจสำหรับผู้บริหารระดับสูงโดยเฉพาะ โดยใช้หลักการและวิธีการเดียวกกับระบบสนับสนุนการตัดสินใจ แต่พัฒนาขึ้นมาเพื่อรองรับงานในองค์กรขนาดใหญ่ที่มีระบบการตัดสินใจที่ซับซ้อนต้องการความแม่นยำและรวดเร็วในการตัดสินใจจากสภาวะหรือผลกระทบภายนนอกองค์กร ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูงจะใช้ข้อมูลจาก แหล่งคือ                      
                    1. ข้อมูลภายในองค์กร ได้แก่ งบประมาณ แผนรายจ่าย หรือแผนการเงิน
                    2. ข้อมูลภายนอกองค์กร ได้แก่ สำนักข่าว ตลาดหุ้น
                    3. ข้อมูลที่ได้จากการประมวลผลรายการประจำวัน

          แล้วนำมาเปรียบเทียบ คำนวณ วิเคราะห์ คาดการณ์ และยังสามารถแสดงแนวโน้มหรือคาดคะเนเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึันในอนาต

                Description: http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/bangkok/pichai_l/it01/images/nth_userlib_custom_theme_thaigoodview_business_modern_electric_bullet_l.gif คุณสมบัติของระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง  Description: http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/bangkok/pichai_l/it01/images/nth_userlib_custom_theme_thaigoodview_business_modern_electric_bullet_l.gif

               - สนับสนุนการวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning Support ) ผู้บริหารระดับสูงส่วนใหญ่ มักจะให้ความสำคัญต่อการวางแผนกลยุทธ์ขององค์กร  ดังนั้นผู้พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูงควรมีความรู้เรื่องกลยุทธ์ธุรกิจ และปัจจัยในการวางแผนกลยุทธ์ เพื่อให้สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการกำหนดกลยุทธ์ที่สมบูรณ์
               - เชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อมภายนอก (External Environment Focus)ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูงจะถูกออกแบบให้สามารถเชื่อมโยงกับ
แหล่งข้อมูลที่มาจากภายนอกองค์กรเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่มีความจำเป็นและสำคัญในการตัดสินใจ
               - มีความสามารถในการคำนวณภาพกว้าง ( Broad -based Computing Capabilities ) การตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูงส่วนใหญ่ จะมองภาพรวมของระบบ กว้าง ๆ ไม่ลงลึกในรายละเอียดดังนั้นการคำนวณที่ผูั้บริหารระัดับสูงต้องการจึงเป็น ลักษณะที่ง่าย ชัดเจนเป็นรูปธรรม ไม่ซับซ้อนมาก
               - ง่ายต่อการเรียนรู้และใช้งาน (Exceptional Ease of learning and use ) ผู้บริหารระดับสูงอาจเป็นบุคคลที่ไม่มีความชำนาญด้านคอมพิวเตอร์ ดังนั้นระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูงจึงควรที่จะเลือกรูปแบบการแสดงผล หรือการโต้ตอบกับผู้ใช้งานที่ง่ายและรวดเร็ว
               - เป็นระบบเฉพาะสำหรับผู้บริหาร (Costomization ) ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูงที่ดีนั้นควรเป็นระบบเฉพาะผู้บริหารที่จะเข้าถึงข้อมุลได้ง่าย
 
                                
6. ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Excpert System หรือ ES )

        มีลักษณะคล้ายระบบสารสนเทศประเภทอื่น ๆ คือ เป็นระบบคอมพิวเตอร์ ที่ช่วยผู้บริหารแก้ปัญหา หรือสนับสนุนการตัดสินใจ แต่จะแตกต่างจากระบบสารสนเทศประเภทอื่นตรงที่ ใช้หลักการทำงานด้วยปัญญาประดิษฐ์(Artificial Intelligence ) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้ มากกว่าการจัดการสารสนเทศ  ระบบผู้เชียวชาญเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเลียนแบบขั้นตอนและวิธีการในการคิด วิเคราะห์  เพื่อแก้ไขปัญหาโดยผู้เชี่ยวชาญในสาขาใด ๆ ระบบผู้เชี่ยวชาญสามารถนำไปใช้ในขั้นตอนการให้คำปรึกษา หรือสนับสนุนการแก้ไขปัญหาที่ยากและซับซ้่อน ณ สถานการณ์ใด ๆได้    ระบบผู้เชียวฃาญจะเลือกเฉพาะสาขาหรือ เฉพาะด้านที่ขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญ
     
        การสร้างระบบผู้เชี่ยวชาญต้องการข้อมูลจำนวนมากจากผูั้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านนั้น ๆ เพื่อเก็บข้อมูลอย่างละเอียดลงในฐานข้อมูล ที่เรียกว่าฐานความรู้ จากนั้นกลไกการวินิจฉัย ซึ่งเปรียบได้กับสมองของระบบจะทำการตรวจสอบข้อมูลที่มีอยู่ในฐานความรู้ และเลือกข้อมูลที่เหมาะสมที่สุดด้วยวิธีการในการคิดหาคำตอบ อย่างมีเหตุผลและเป็นขั้นเป็นตอน พร้อมกับต้องมีส่วนของการติดต่อกับผู้ใชที่มีความสะดวก เพื่อให้เกิดความพึงพอใจ และใช้งานระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ

องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ    

                   มี องค์ประกอบ  ได้แก่  ฮาร์ดแวร์   ซอฟต์แวร์   ข้อมูล บุคลากร  และขั้นตอนการปฏิบัติงาน
       Description: http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/lopburi/napaporn_pr/com/nth_userlib_custom_theme_thaigoodview_home_and_kids_present_bullet_s.gif ฮาร์ดแวร์เป็นองค์ประกอบสำคัญ หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์รอบข้าง
       Description: http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/lopburi/napaporn_pr/com/nth_userlib_custom_theme_thaigoodview_home_and_kids_present_bullet_s.gif ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นชุดคำสั่งที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน
       Description: http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/lopburi/napaporn_pr/com/nth_userlib_custom_theme_thaigoodview_home_and_kids_present_bullet_s.gif ข้อมูล เป็นส่วนที่จะนำไปจัดเก็บในเครื่องคอมพิวเตอร์
       Description: http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/lopburi/napaporn_pr/com/nth_userlib_custom_theme_thaigoodview_home_and_kids_present_bullet_s.gif บุคลากรเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานคอมพิวเตอร์
       Description: http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/lopburi/napaporn_pr/com/nth_userlib_custom_theme_thaigoodview_home_and_kids_present_bullet_s.gif ขั้นตอนการปฏิบัติงาน เป็นสิ่งที่จะต้องเข้าใจเพื่อให้ทำงานได้ถูกต้องเป็นระบบ 
1. ฮาร์ดแวร์
      ฮาร์ดแวร์เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบสารสนเทศ หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์รอบข้าง รวมทั้งอุปกรณ์สื่อสารสำหรับเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าเป็นเครือข่าย เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องกราดตรวจเมื่อพิจารณาเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งเป็น  หน่วย คือ
        Description: http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/lopburi/napaporn_pr/com/nth_userlib_custom_theme_thaigoodview_home_and_kids_present_bullet_l.gifหน่วยรับข้อมูล (input unit) ได้แก่ แผงแป้นอักขระ เมาส์
        Description: http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/lopburi/napaporn_pr/com/nth_userlib_custom_theme_thaigoodview_home_and_kids_present_bullet_l.gifหน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU)
        Description: http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/lopburi/napaporn_pr/com/nth_userlib_custom_theme_thaigoodview_home_and_kids_present_bullet_l.gifหน่วยแสดงผล (output unit) ได้แก่ จอภาพ เครื่องพิมพ์
การทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ เมื่อเปรียบเทียบกับมนุษย์ จะพบว่าคล้ายกัน กล่าวคือ เมื่อมนุษย์ได้รับข้อมูลจากประสาทสัมผัส ก็จะส่งให้สมองในการคิด แล้วสั่งให้มีการโต้ตอบ 

2 . ซอฟต์แวร์
       ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบที่สำคัญประการที่สอง ซึ่งก็คือลำดับขั้นตอนของคำสั่งที่จะสั่งงานให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน เพื่อประมวลผลข้อมูลให้ได้ผลลัพธ์ตามความต้องการของการใช้งาน ในปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติงาน ซอฟต์แวร์ควบคุมระบบงาน ซอฟต์แวร์สำเร็จ และซอฟต์แวร์ประยุกต์สำหรับงานต่างๆ ลักษณะการใช้งานของซอฟต์แวร์ก่อนหน้านี้      ผู้ใช้จะต้องติดต่อใช้งานโดยใช้ข้อความเป็นหลัก แต่ในปัจจุบันซอฟต์แวร์มีลักษณะการใช้งานที่ง่ายขึ้น โดยมีรูปแบบการติดต่อที่สื่อความหมายให้เข้าใจง่าย เช่น มีส่วนประสานกราฟิกกับผู้ใช้ที่เรียกว่า กุย (Graphical User Interface : GUI) ส่วนซอฟต์แวร์สำเร็จที่มีใช้ในท้องตลาดทำให้การใช้งานคอมพิวเตอร์ในระดับบุคคลเป็นไปอย่างกว้างขวาง และเริ่มมีลักษณะส่งเสริมการทำงานของกลุ่มมากขึ้น ส่วนงานในระดับองค์กรส่วนใหญ่มักจะมีการพัฒนาระบบตามความต้องการโดยการว่าจ้าง หรือโดยนักคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในฝ่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กร เป็นต้น
 ซอฟต์แวร์ คือ  ชุดคำสั่งที่สั่งงานคอมพิวเตอร์ แบ่งออกได้หลายประเภท เช่น
1.  ซอฟต์แวร์ระบบ  คือ ซอฟต์แวร์ที่ใช้จัดการกับระบบคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีอยู่ในระบบ  เช่น ระบบปฏิบัติการวินโดว์ส ระบบปฏิบัติการดอส ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์
2.  ซอฟต์แวร์ประยุกต์  คือ ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานด้านต่างๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ เช่น     ซอฟต์แวร์กราฟิก     ซอฟต์แวร์ประมวลคำ    ซอฟต์แวร์ตารางทำงานซอฟต์แวร์นำเสนอข้อมูล  

3. ข้อมูล
     ข้อมูล เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่งของระบบสารสนเทศ อาจจะเป็นตัวชี้ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของระบบได้ เนื่องจากจะต้องมีการเก็บข้อมูลจากแหล่งกำเนิด ข้อมูลจะต้องมีความถูกต้อง มีการกลั่นกรองและตรวจสอบแล้วเท่านั้นจึงจะมีประโยชน์ ข้อมูลจำเป็นจะต้องมีมาตรฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้งานในระดับกลุ่มหรือระดับองค์กร ข้อมูลต้องมีโครงสร้างในการจัดเก็บที่เป็นระบบระเบียบเพื่อการสืบค้นที่รวดเร็วมีประสิทธิภาพ 

4. บุคลากร
          บุคลากรในระดับผู้ใช้ ผู้บริหาร ผู้พัฒนาระบบ นักวิเคราะห์ระบบ และนักเขียนโปรแกรม เป็นองค์ประกอบสำคัญในความสำเร็จของระบบสารสนเทศ บุคลากรมีความรู้ความสามารถทางคอมพิวเตอร์มากเท่าใดโอกาสที่จะใช้งานระบบสารสนเทศและระบบคอมพิวเตอร์ได้เต็มศักยภาพและคุ้มค่ายิ่งมากขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะระบบสารสนเทศในระดับบุคคลซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์มีขีดความสามารถมากขึ้น ทำให้ผู้ใช้มีโอกาสพัฒนาความสามารถของตนเองและพัฒนาระบบงานได้เองตามความต้องการ สำหรับระบบสารสนเทศในระดับกลุ่มและองค์กรที่มีความซับซ้อนจะต้องใช้บุคลากรในสาขาคอมพิวเตอร์โดยตรงมาพัฒนาและดูแลระบบงาน


5. ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
          ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ชัดเจนของผู้ใช้หรือของบุคลากรที่เกี่ยวข้องก็เป็นเรื่องสำคัญอีกประการหนึ่ง เมื่อได้พัฒนาระบบงานแล้วจำเป็นต้องปฏิบัติงานตามลำดับขั้นตอนในขณะที่ใช้งานก็จำเป็นต้องคำนึงถึงลำดับขั้นตอนการปฏิบัติของคนและความสัมพันธ์กับเครื่อง ทั้งในกรณีปกติและกรณีฉุกเฉิน เช่น ขั้นตอนการบันทึกข้อมูล ขั้นตอนการประมวลผล ขั้นตอนปฏิบัติเมื่อเครื่องชำรุดหรือข้อมูลสูญหาย และขั้นตอนการทำสำเนาข้อมูลสำรองเพื่อความปลอดภัย เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะต้องมีการซักซ้อม มีการเตรียมการ และการทำเอกสารคู่มือการใช้งานที่ชัดเจน 


วันเสาร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

สารสนเทศ


ระบบสารสนเทศ




ความหมายของระบบสารสนเทศ
 ระบบสารสนเทศ (Information system) หมายถึง ระบบที่ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ได้แก่ ระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์  ซอฟท์แวร์  ระบบเครือข่าย  ฐานข้อมูล  ผู้พัฒนาระบบ ผู้ใช้ระบบ  พนักงานที่เกี่ยวข้อง และ ผู้เชี่ยวชาญในสาขา  ทุกองค์ประกอบนี้ทำงานร่วมกันเพื่อกำหนด  รวบรวม จัดเก็บข้อมูล  ประมวลผลข้อมูลเพื่อสร้างสารสนเทศ และส่งผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่ได้ให้ผู้ใช้เพื่อช่วยสนับสนุนการทำงาน การตัดสินใจ  การวางแผน  การบริหาร การควบคุม  การวิเคราะห์และติดตามผลการดำเนินงานขององค์กร (สุชาดา กีระนันทน์, 2541)

        ระบบสารสนเทศ หมายถึง ชุดขององค์ประกอบที่ทำหน้าที่รวบรวม  ประมวลผล จัดเก็บ และแจกจ่ายสารสนเทศ เพื่อช่วยการตัดสินใจ และการควบคุมในองค์กร  ในการทำงานของระบบสารสนเทศประกอบไปด้วยกิจกรรม 3 อย่าง คือ การนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ (Input)  การประมวลผล (Processing)  และ การนำเสนอผลลัพธ์ (Output) ระบบสารสนเทศอาจจะมีการสะท้อนกลับ (Feedback) เพื่อการประเมินและปรับปรุงข้อมูลนำเข้า  ระบบสารสนเทศอาจจะเป็นระบบที่ประมวลด้วยมือ(Manual) หรือระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ก็ได้ (Computer-based information system –CBIS) (Laudon & Laudon, 2001)
        แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันเมื่อกล่าวถึงระบบสารสนเทศ มักจะหมายถึงระบบที่ต้องอาศัยคอมพิวเตอร์และระบบโทรคมนาคม

        ระบบสารสนเทศ  หมายถึง ระบบคอมพิวเตอร์ที่จัดเก็บข้อมูล และประมวลผลเป็นสารสนเทศ และระบบสารสนเทศเป็นระบบที่ต้องอาศัยฐานข้อมูล  (CIS 105 -- Survey of Computer Information Systems, n.d.)


        ระบบสารสนเทศ หมายถึง ชุดของกระบวนการ บุคคล และเครื่องมือ ที่จะเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ  (FAO Corporate Document Repository, 1998) ระบบสารสนเทศ ไม่ว่าจะเป็นระบบมือหรือระบบอัตโนมัติ หมายถึง ระบบที่ประกอบด้วย คน เครื่องจักรกล(machine)  และวิธีการในการเก็บข้อมูล   ประมวลผลข้อมูล  และเผยแพร่ข้อมูล ให้อยู่ในลักษณะของสารสนเทศของผู้ใช้ (Information system, 2005)


        สรุปได้ว่า ระบบสารสนเทศ ก็คือ ระบบของการจัดเก็บ ประมวลผลข้อมูล โดยอาศัยบุคคลและเทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินการ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เหมาะสมกับงานหรือภารกิจแต่ละอย่าง  


วันอาทิตย์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

สมาชิกในกลุ่ม 5/10

สมาชิกในกลุ่ม  5/10 

นาย พีรพงษ์ พรหมเจริญ เลขที่ 3  รหัส 28822
นาย ภาณุภัทร รักษาพราหม์ เลขที่ 13  รหัส 31257
นางสาว ชญาณี โชครักษ์ เลขที่ 17 รหัส 28836
นางสาว ปุณยวีร์ จงอักษร เลขที่ 18 รหัส 28843
นางสาว รฐพร สุราษฎร์ เลขที่ 19 รหัส 28846
นางสาว หทัยพร แก้วผุดผ่อง เลขที่ 33 รหัส 30707