ประเภทของระบบสารสนเทศ
มีงานหลายงานทางธุรกิจที่ต้องการให้เกิดการทำงานที่เป็นอัตโนมัติระบบสารสนเทศจึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นมากขึ้น ระบบสารสนเทศที่นำมาใช้เพื่อช่วยในการทำงานนั้นมีหลายระบบ บางระบบอาจออกแบบมาเพื่อช่วยให้สามารถรวบรวมข้อมูลได้รวดเร็ว บางระบบอาจถูกออกแบบมาเพื่อช่วยในวิเคราะห์และตัดสินใจ ระบบสารสนเทศเหล่านี้สามารถทำงานได้เสร็จภายในระับบย่อยเพียงระบบเดียว หรือสามารถทำงานร่วมกันในหลาย ๆ ระบบสำหรับองค์กรที่มีขนาดใหญ่ ระบบสารสนเทศสามารถแยกตามหน้าที่ที่แตกต่างกันได้ดังนี้
1. ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automatic System หรือ OAS )
เป็นงานที่ต้องทำอยู่เป็นประจำ หรืองานทั่วไป ที่สามารถพบได้ในองค์กรทุกประเภท เช่น การส่งจดหมาย การพิมพฺ์เอกสารายงาน หรือ การจัดตารางเวลาซึ่งงานลักษณะนี้ ทำโดยระบบคอมพิวเตอร์อัตโนมัติ ผู้ใช้สารสนเทศประเภทนี้สามารถนำโปรแกรมประยุกต์ เข้ามาช่วยงานแบบประจำได้ เช่น โปรแกรมประมวลผลคำ (Word Processing ) สมุดบัญชีอิเล็กทรอนิกส์ (Spreadsheet ) และโปรแกรมที่ใช้ติดต่อสื่อสารภายในและภายนอกองค์กร และเพื่อรองรับการขยายระบบใหญ่มากขึ้น ทำให้ระบบสำนักงานอัตโนมัติสามารถสร้างได้ด้วยโปรแกรมประยุกต์ (Application Software ) ที่มีขายตามร้านขายซอฟต์แวร์ระบบสำนักงานอัตโนมัตินี้มักถูกใช้งานโดยบุคคลทุกระดับในองค์กร
2. ระบบประมวลผลรายการประจำวัน (Transaction Processing System หรือ TPS)
บางครั้งเรียกว่าระบบประมวลผลข้อมูล ( Data Processing System )เป็นระบบที่มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดการข้อมุลพื้นฐาน โดยเน้นที่การประมวลผลรายการประจำวันและการเก็บรักษาข้อมูล การทำงานมัักเกิดขึ้นในหน่วยงานใด หน่วยงานหนึ่ง เท่านั้น เช่น ฝ่ายการเงิน ฝ่ายบัญชี โดยแต่ละฝ่ายจะมีการประมวลผลที่แยกจากกัน ข้อมูลจะถูกป้อนและจัดเก็บอยู่ในระบบ และข้อมูลเหล่านั้นจะถูกแก้ไขระหว่างการประมวลผลรายการประจำวัน จากนั้นผลลัพธืจะถูกแสดงตามระยะเวลาที่กำหนด เช่น ใบสั่งซื้อ สั่งจอง
3. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System หรือ MIS )
เป็นระบบซึ่งรวบรวมข้อมูลและสาารสนเทศทั้งหมดในองค์กร และภายนอกองค์กรอย่างมีหลักเกณฑ์ จุดประสงค์ของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการจะเน้นให้ผู้บริหารมองเห็นแนวโน้มและภาพรวมขององค์กรในปัจจุบัน รวมทั้งสามารถควบคุมและตรวจสอบผลงานของระดับปฏิบัติการด้วย ขอบเขตของรายการที่ได้จากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการจะขึ้นอยู่กับลักษณะของสารสนเทศ และวัตถุประสงค์ในการใช้งาน โดยอาจมีรายงานตามสภาวการณ์ หรือสภาวการณ์ที่ผิดปกติ ตัวอย่างรายงานที่ได้จากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ เช่น การวิเคราะหืการขายแยกตามพื้นที่ การวิเคราะห์ต้นทุน งบประมาณประจำปี เป็นต้น
4. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System หรือ DSS)
เป็นระบสารสนเทศที่จัดทำขึ้นเพื่ิอให้ผู้ทำการตัดสินใจใช้ประกอบการตัดสินใจ ดังนั้นจึงเป็นระบบที่ง่ายต่อการเรียกใช้งานและการโต้ตอบทั้งนี้เพราะผู้บริหาร ระดับกลางขึ้นไปคุ้นเคยและจำเป็นต้องใช้การตัดสินใจบนประสบการณืต่อสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งที่ควบคุมได้ และทีไม่่สามารถควบคุมได้ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจจึงเป็นระบบที่มีการผสมผสานสารสนเทศที่มีอยู่หรือเรียกใช้จากระบบสารสนเทสอื่น ๆ นำมาเปรียบเทียบ คำนวณ วิเคราะห์ คาดการณ์ โดยนำเสนอในรูปของกราฟิก แผนงานหรือแม้แต่ระบบปัญญาประดิษฐ์ เพื่อให้เกิดความสะดวกในการใช้สารสนเทศ สำหรับผู้ทำการตัดสินใจ นอกเหนือไปจากกงานหรือสถานการณ์ภายในที่ควบคุมได้ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ จะได้รับการออกกแบบเพื่อให้สนับสนุนการตัดสินใจหลาย ๆ ด้าน พร้อมกัน ดังนั้นสารสนเทศที่เกี่ยวข้องภายในองค์กรจึงได้รับการจัดระบบใหม่เพื่อให้สามารถแสดงความเกี่ยวข้องอย่างชัดเจน สามารถเรียกใช้ได้ทันที
ส่วนประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ 1. การจัดการข้อมูล (Data Management )เป็นฐานข้อมูลที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ สถานการณ์ต่าง ๆ และถูกจัดการโดยซอฟต์แวร์ที่เรียกว่า ระบบจัดการ ฐานข้อมูล (Database Management System หรือ DBMS )
2. การจัดการตัวแบบ (Model Management ) เป็นซอฟต์แวร์สำเร็จรูปที่รวมการทำงานหลาย ๆ อย่าง เช่น การทำงานด้านการเงิน สถิติ หรือตัวแบบเชิงปริมาณอื่น ๆ ที่มีความสามารถในการวิเคราะหืข้อมูล และมีซอฟต์ที่ช่วยในการจัดการที่เหมาะสมที่เรียกว่า ระบบจัดการฐานตัวแบบ (Model Base anagement
System หรือ MBMS )
3. การจัดการความรู้ (Knowledge Management ) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่สนับสนุนส่วนอื่น ๆ หรือเป็นส่วนประกอบแบบอิสระไม่ขึ้นกับองค์ประกอบอื่น ๆ ช่วยให้ข้อมูลหรือความร้แก่ผู้ทำการตัดสินใจ
4. การติดต่อกับผู้ใช้ (User Interface ) ผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารและสั่งงานระบบสนับสนุนการตัดสินใจโดยผ่านส่วนนี้
|
5. ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (Executive Informaion Systyem หรือ EIS )
เป็นระบบที่สร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนสารสนเทศและการตัดสินใจสำหรับผู้บริหารระดับสูงโดยเฉพาะ โดยใช้หลักการและวิธีการเดียวกกับระบบสนับสนุนการตัดสินใจ แต่พัฒนาขึ้นมาเพื่อรองรับงานในองค์กรขนาดใหญ่ที่มีระบบการตัดสินใจที่ซับซ้อนต้องการความแม่นยำและรวดเร็วในการตัดสินใจจากสภาวะหรือผลกระทบภายนนอกองค์กร ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูงจะใช้ข้อมูลจาก 3 แหล่งคือ
1. ข้อมูลภายในองค์กร ได้แก่ งบประมาณ แผนรายจ่าย หรือแผนการเงิน
2. ข้อมูลภายนอกองค์กร ได้แก่ สำนักข่าว ตลาดหุ้น
3. ข้อมูลที่ได้จากการประมวลผลรายการประจำวัน
แล้วนำมาเปรียบเทียบ คำนวณ วิเคราะห์ คาดการณ์ และยังสามารถแสดงแนวโน้มหรือคาดคะเนเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึันในอนาต
คุณสมบัติของระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง
- สนับสนุนการวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning Support ) ผู้บริหารระดับสูงส่วนใหญ่ มักจะให้ความสำคัญต่อการวางแผนกลยุทธ์ขององค์กร ดังนั้นผู้พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูงควรมีความรู้เรื่องกลยุทธ์ธุรกิจ และปัจจัยในการวางแผนกลยุทธ์ เพื่อให้สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการกำหนดกลยุทธ์ที่สมบูรณ์
- เชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อมภายนอก (External Environment Focus)ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูงจะถูกออกแบบให้สามารถเชื่อมโยงกับ
แหล่งข้อมูลที่มาจากภายนอกองค์กรเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่มีความจำเป็นและสำคัญในการตัดสินใจ
- มีความสามารถในการคำนวณภาพกว้าง ( Broad -based Computing Capabilities ) การตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูงส่วนใหญ่ จะมองภาพรวมของระบบ กว้าง ๆ ไม่ลงลึกในรายละเอียดดังนั้นการคำนวณที่ผูั้บริหารระัดับสูงต้องการจึงเป็น ลักษณะที่ง่าย ชัดเจนเป็นรูปธรรม ไม่ซับซ้อนมาก
- ง่ายต่อการเรียนรู้และใช้งาน (Exceptional Ease of learning and use ) ผู้บริหารระดับสูงอาจเป็นบุคคลที่ไม่มีความชำนาญด้านคอมพิวเตอร์ ดังนั้นระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูงจึงควรที่จะเลือกรูปแบบการแสดงผล หรือการโต้ตอบกับผู้ใช้งานที่ง่ายและรวดเร็ว
- เป็นระบบเฉพาะสำหรับผู้บริหาร (Costomization ) ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูงที่ดีนั้นควรเป็นระบบเฉพาะผู้บริหารที่จะเข้าถึงข้อมุลได้ง่าย
2. ข้อมูลภายนอกองค์กร ได้แก่ สำนักข่าว ตลาดหุ้น
3. ข้อมูลที่ได้จากการประมวลผลรายการประจำวัน
แล้วนำมาเปรียบเทียบ คำนวณ วิเคราะห์ คาดการณ์ และยังสามารถแสดงแนวโน้มหรือคาดคะเนเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึันในอนาต
คุณสมบัติของระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง
- สนับสนุนการวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning Support ) ผู้บริหารระดับสูงส่วนใหญ่ มักจะให้ความสำคัญต่อการวางแผนกลยุทธ์ขององค์กร ดังนั้นผู้พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูงควรมีความรู้เรื่องกลยุทธ์ธุรกิจ และปัจจัยในการวางแผนกลยุทธ์ เพื่อให้สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการกำหนดกลยุทธ์ที่สมบูรณ์
- เชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อมภายนอก (External Environment Focus)ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูงจะถูกออกแบบให้สามารถเชื่อมโยงกับ
แหล่งข้อมูลที่มาจากภายนอกองค์กรเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่มีความจำเป็นและสำคัญในการตัดสินใจ
- มีความสามารถในการคำนวณภาพกว้าง ( Broad -based Computing Capabilities ) การตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูงส่วนใหญ่ จะมองภาพรวมของระบบ กว้าง ๆ ไม่ลงลึกในรายละเอียดดังนั้นการคำนวณที่ผูั้บริหารระัดับสูงต้องการจึงเป็น ลักษณะที่ง่าย ชัดเจนเป็นรูปธรรม ไม่ซับซ้อนมาก
- ง่ายต่อการเรียนรู้และใช้งาน (Exceptional Ease of learning and use ) ผู้บริหารระดับสูงอาจเป็นบุคคลที่ไม่มีความชำนาญด้านคอมพิวเตอร์ ดังนั้นระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูงจึงควรที่จะเลือกรูปแบบการแสดงผล หรือการโต้ตอบกับผู้ใช้งานที่ง่ายและรวดเร็ว
- เป็นระบบเฉพาะสำหรับผู้บริหาร (Costomization ) ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูงที่ดีนั้นควรเป็นระบบเฉพาะผู้บริหารที่จะเข้าถึงข้อมุลได้ง่าย
6. ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Excpert System หรือ ES )
มีลักษณะคล้ายระบบสารสนเทศประเภทอื่น ๆ คือ เป็นระบบคอมพิวเตอร์ ที่ช่วยผู้บริหารแก้ปัญหา หรือสนับสนุนการตัดสินใจ แต่จะแตกต่างจากระบบสารสนเทศประเภทอื่นตรงที่ ใช้หลักการทำงานด้วยปัญญาประดิษฐ์(Artificial Intelligence ) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้ มากกว่าการจัดการสารสนเทศ ระบบผู้เชียวชาญเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเลียนแบบขั้นตอนและวิธีการในการคิด วิเคราะห์ เพื่อแก้ไขปัญหาโดยผู้เชี่ยวชาญในสาขาใด ๆ ระบบผู้เชี่ยวชาญสามารถนำไปใช้ในขั้นตอนการให้คำปรึกษา หรือสนับสนุนการแก้ไขปัญหาที่ยากและซับซ้่อน ณ สถานการณ์ใด ๆได้ ระบบผู้เชียวฃาญจะเลือกเฉพาะสาขาหรือ เฉพาะด้านที่ขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญ
การสร้างระบบผู้เชี่ยวชาญต้องการข้อมูลจำนวนมากจากผูั้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านนั้น ๆ เพื่อเก็บข้อมูลอย่างละเอียดลงในฐานข้อมูล ที่เรียกว่าฐานความรู้ จากนั้นกลไกการวินิจฉัย ซึ่งเปรียบได้กับสมองของระบบจะทำการตรวจสอบข้อมูลที่มีอยู่ในฐานความรู้ และเลือกข้อมูลที่เหมาะสมที่สุดด้วยวิธีการในการคิดหาคำตอบ อย่างมีเหตุผลและเป็นขั้นเป็นตอน พร้อมกับต้องมีส่วนของการติดต่อกับผู้ใชที่มีความสะดวก เพื่อให้เกิดความพึงพอใจ และใช้งานระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น